วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำมันดาวอินคา

ดาวอินคา (Sacha Inchi) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plukenetia volubilis L. จัดเป็นพืชที่ให้น้ำมัน ขึ้นอยู่ตามบริเวณลุ่มน้ำอเมซอนแถบประเทศเปรู ในอดีตเมล็ดของดาวอินคาจะถูกนำไปสกัดเป็นน้ำมัน เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหารของชาวอินคา ซึ่งในปัจจุบันดาวอินคากำลังเป็นที่สนใจและมีการนำมาเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ และนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ



เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำมันดาวอินคา
        ป่าอเมซอนจัดเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity)ที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีพืชทางการเกษตรที่สำคัญของโลกหลายชนิดที่มีการเพาะปลูกครั้งแรกในบริเวณพื้นที่นี้ ได้แก่ มันสำปะหลัง, สัปปะรด, โกโก้ และ  ยาง  อย่างไรก็ดียังมีพืชที่ใช้ประโยชน์ได้อีกหลายชนิดในพื้นที่ป่าอเมซอน  ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนั่นก็คือ ดาวอินคา


          ดาวอินคา (Sacha Inchi)มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plukenetia volubilis L. จัดเป็นพืชที่ให้น้ำมัน ขึ้นอยู่ตามบริเวณลุ่มน้ำอเมซอนแถบประเทศเปรู ในอดีตเมล็ดของดาวอินคาจะถูกนำไปสกัดเป็นน้ำมัน  เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหารของชาวอินคา  ซึ่งในปัจจุบันดาวอินคากำลังเป็นที่สนใจและมีการนำมาเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์  และนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ(อ้างอิงที่ 1)

น้ำมันดาวอินคาคืออะไร
        น้ำมันดาวอินคา(Sacha Inchi Oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดดาวอินคา โดยผ่านกระบวนกรรมวิธีการบีบอัดและไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีใดๆ (virgin oil) ทำให้ได้น้ำมันดาวอินคาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และ มีกลิ่นรสที่ดี

ส่วนประกอบในน้ำมันดาวอินคา
·       มีกรดไขมันจำเป็นครบถ้วนทั้ง 2 ตัว และปริมาณสูง คือ
o   กรดอัลฟาไลโนเลนิก หรือ เอแอลเอ (กรดไขมันชนิดโอเมก้า 3) ประมาณ 40-50%
o   กรดไลโนเลอิก(กรดไขมันชนิดโอเมก้า 6)ประมาณ 30-40%
ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้ มีความจำเป็นต่อร่างกายและร่างกายไม่สามารถสร้างได้เองต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
·       มีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 ต่อ โอเมก้า 3 อยู่ในช่วง 0.83-1.09 :1  ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ดีต่อสุขภาพ
·       มีโทโคฟีรอล ซึ่งพบมากในรูป แกมม่า(Gamma-tocopherol)ประมาณ 0.13% และ เดลต้าโทโคฟีรอล (Delta-tocopherol)ประมาณ 0.09%ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง
·       มีไฟโตสเตอรอล ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในการช่วยลดโคเลสเตอรอลทั้งในเลือดและทางเดินอาหาร

·       มีสารประกอบฟินอลิกมากกว่า 21 ชนิด อาทิเช่น  ไฮดรอกซีไทโรซอล(Hydroxytyrosol),สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) และสารกลุ่มลิกแนน (lignan)เป็นต้น ซึ่งสารกลุ่มดังกล่าว มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและหัวใจ (อ้างอิงที่ 2,3)

งานวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันดาวอินคากับสุขภาพของมนุษย์
       มีการศึกษาผลของน้ำมันจากดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือด ทดลองในผู้ป่วยที่มีปัญหา คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้รับประทานน้ำมันที่สกัดจากถั่วดาวอินคา 5 หรือ10 มิลลิลิตรเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีผลคอเลสเตอรอลรวมและไขมันที่ไม่ดีในเลือดลดลง อีกทั้งยังเพิ่มระดับของไขมันHDLหรือไขมันชนิดดีอีกด้วย(อ้างอิงที่ 4)
       อีกการศึกษาในเรื่องความสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันดาวอินคา  ต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองด้านสติปัญญา  โดยแบ่งอาสาสมัครเป็น2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองให้รับประทานน้ำมันดาวอินคาจำนวน 5 แคปซูลต่อวัน (คิดเป็นโอเมก้า 3  1.75 กรัม) และกลุ่มเปรียบเทียบที่รับประทานยาหลอกปริมาณเท่ากัน เป็นระยะเวลา   35 วัน ผลการทดสอบสติปัญญาพบว่า น้ำมันดาวอินคามีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใส่ใจและความจำดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่รับประทานยาหลอกก่อนและหลังการทดลอง(อ้างอิงที่ 5)

ประโยชน์ของน้ำมันดาวอินคากับสุขภาพโดยรวม 
1.ลดระดับไตรกลีเซอไรด์และ คอเลสเตอรอลชนิดเลว(LDL) เพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)ในเลือด 
2.ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
3.มีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ป้องกันความเสื่อมของร่างกาย
4.ช่วยปกป้องเซลล์สมอง ช่วยฟื้นฟูความจำ
5. ยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งต่างๆในร่างกาย
(อ้างอิงที่ 6,7)
    
     น้ำมันดาวอินคาจัดเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพแหล่งหนึ่งที่ได้จากพืชที่  ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่างๆได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
1.Semino, C..A., Rojas, F.C., Zapata, E.S. 2008. Protocolo del cultivode Sacha Inchi. (Plukenetia volubilis L.). La Merced, Peru.
2.Do Prado IM, Giufrida WM, Alvarez VH, Cabral VF, Quispe–Condori S, Saldana MDA, Cardozo L. 2011. Phase equilibriummeasurements of Sacha Inchi oil (Plukenetia volubilis L.) and CO2 at high pressures. J. Am. Oil. Chem. Soc.(88):1263–1269.
3.Hamaker, B.R., Valles, C., Gilman, R., Hardmeier, R.M., Clark, D., Garcia, H.H., Gonzales, A.E., Kohlstad,    I., Castro, M.,Valdivia, R., Rodriguez, T., Lescano, M. 1992. Anino–acidand fatty–acid profiles of the Incha peanut (Plukenetia volubilis L.). Cereal Chem. (69): 461–463.
4.Garmendia, F., Pando, R., Ronceros, G., 2011. [Effect of sacha inchi oil (Plukenetia volubilis L.) on the lipid  profile of patients with hyperlipoproteinemia]. Rev. Peru. Med. Exp. Salud Publica 28 (4):628–632
5.ธนกฤตศิลปธรากุล. 2559. ประสิทธิผลของอาหารเสริมจากน้ำมันถั่วดาวอินคาในรูปรับประทานต่อการทำงานของสมองด้านสติปัญญา.งานประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3. 14-21.
6. Cai, Z.Q,, Yang, Q., Tang, S.X., Dao, X.S. 2011. Nutritional evaluationin seeds of woody oil crop Plukenetia volubilis Linneo. Acta Nutrimenta Sinica. (33)193–195.

7.Jiang., Q., Wong, J., and Ames, B. N. (2004). γ‐Tocopherol Induces Apoptosis in Androgen‐Responsive LNCaP Prostate Cancer Cells via Caspase‐Dependent and Independent Mechanisms. Annals of the New York Academy of Sciences1031(1): 399-400.


สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น