วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผักและผลไม้สำหรับเด็ก

         ปัญหาด้านโภชนาการของเด็กไทยในวันนี้ นอกจากจะชอบรับประทานอาหารหรือขนมที่มีการปรุงแต่งรสชาติ สีสัน มากด้วยน้ำตาลและไขมัน แต่กลับมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยแล้วยังไม่ชอบรับประทานพืชผักผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย กลายเป็นเรื่องที่จะต้องมีการรณรงค์ เพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคเสียใหม่ ให้เด็กไทยหันมาสนใจบริโภคผักกันมากขึ้น

          จากการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประชาชนในกรุงเทพมานคร พ.ศ.2546-2547 พบว่า เด็กวัยเรียนมีการบริโภคผักทุกวัน เพียงร้อยละ 41.1 ในปริมาณวันละ 14.3 กรัมต่อคน หรือประมาณ 1.5 ช้อนกินข้าว ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าธงโภชนาการ ซึ่งแนะนำให้เด็กวัยเรียนอายุ 6-13 ปี ควรบริโภคผักมื้อละ 4 ช้อนกินข้าว นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กวัยเรียนมีการบริโภคอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันเพิ่มขึ้น ทั้ง ๆ ที่ควรมีการบริโภคผักผลไม้ให้ได้วันละ 500 กรัม เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง เป็นต้น (อ้างอิงที่1)

          มีงานวิจัยที่แสดงว่า ชายไทยร้อยละ 80 กินักผลไม้เพียง 268 กรัม/คน/วัน และหญิงไทยร้อยละ 76 กินผักผลไม้เพียง 286 กรัม/คน/วัน ซึ่งตัวเลขนี้ห่างจากมาตรฐานที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 400-500 กรัม/คน/วัน พอสมควรทีเดียว ผลของการไม่กินผักทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามาอย่างมากมาย อาทิ ท้องผูก ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจ เพราะได้รับคุณค่าของสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งต้องหันมากินผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารอย่างเพียงพอ ไม่ควรกินผักผลไม้เพียงแค่ชนิดเดียว ควรกินให้ได้หลากหลายสี ทั้งแดง เหลือง ส้ม เขียว ขาว เพราะแต่ละชนิดให้คุณค่าของวิตามิน เกลือแร่ และพฤกษเคมีสารเม็ดสีในผักผลไม้เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโรค เป็นประโยชน์แตกต่างกันไป ดังนี้

         ผัก ผลไม้ สีแดง ที่เห็นคุณประโยชน์เด่นชัดเลยก็คือ มะเขือเทศ ทับทิม เชอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ หรือแม้กระทั่งลูกแอปเปิ้ลแดงก็ตาม ในผักผลไม้สีแดงนี้จะมีสารไลโคฟิน (Lycopene) กรดเอลลาจิก (Ellagic acid) แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) และกรดแกลลิก (Gallic acid) ที่ช่วยทำให้ระบบการทำงานของต่อมลูกหมกดีขึ้น ทั้งยังเนสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดอีกด้วย

         ผัก ผลไม้ สีเหลือง และสีส้ม จะช่วยในเรื่องของผิว เพราะมีเบต้าแคโรทีน (Bata-carotene) อยู่จำนวนมาก เช่น แครอทฟักทอง ข้าวโพด ใครที่กินผักผลไม้ประเภทนี้มากๆ ผิวจะกลายเป็นสีเหลือง นั่นเป็นเพราะสารเบต้าแคโรทีนไปสะสมอยู่ตรงบริเวณผิวหนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังผักผลไม้สีเหลืองมีส่วนช่วยใน การลดระดับโคเลสเตอรอล ช่วยทำให้สีผิวหน้าที่เป็นฝ้าลดลงได้ รวมทั้งข้าวโพดเหลือง ที่ช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาของดวงตาได้อีกด้วย

         ผัก ผลไม้ สีเขียว แทบจะเรียกได้ว่ามีมากที่สุดในบรรดาผักผลไม้ต่างๆ เช่น บร็อคโคลี่ คะน้า กะหล่ำปลี ผักโขม ผักบุ้ง กวางตุ้ง โหระพา กะเพรา สะระแหน่ และวอเตอร์เครส โดยในผักสีเขียวจะอุดมไปด้วยสารไอโซไธโอไซยาเนท (Isothiocyanate) สารลูทีน (Lutein) สารซีแซนทีน (Zeaxanthin) สารให้เซลล์สามารถทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังสนับสนุนการทำงานของปอด หลอดเลือดแดง และตับอีกด้วย

       ผัก ผลไม้ สีขาว ได้แก่กระเทียม หอมใหญ่ เห็ด กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ดอกแค และมะขามป้อม มีสารอาหารที่ช่วยเสริมให้ร่างกายแข็งแรงเช่นกัน โดยในกระเทียมมีสารอัลลิซิน (Allicin) สารเควอซิทิน (Quercetin) ที่ช่วยดูแลในเรื่องของกระดูก และทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายดี ดอกแคก็มีวิตามินซีสูงช่วยป้องกันโรคหวัด มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยให้ผิวสวย (อ้างอิงที่ 2)

       ในการกินผักผลไม้นั้น นอกจากจะได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างครบถ้วนแล้ว ยังได้ในเรื่องของกากใยเพื่อช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย นอกจากนี้ผักผลไม้ยังมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูร่างกายให้หายจากอาการบาดเจ็บได้ เร็วขึ้น มาใส่ใจในการกินผักผลไม้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า

เอกสารอ้างอิง

1. กินผักทุกวัน เด็กไทยทำได้...ของขวัญวันเด็ก จากกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข http://www.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/advisor/main.php?filename=070204
2. ผัก ผลไม้ 5 สี ดีมีประโยชน์, กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร http://203.155.220.217/hpd/slide8.html

สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น