- เป็นสารอาหารที่จำเป็น และช่วยในการทำงานของระบบประสาท เช่น ความจำ และการทำงานของกล้ามเนื้อ
- ช่วยในการขนส่งไขมันและโคเลสเตอรอล ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือดหัวใจ
- ช่วยในการทำงานของตับให้เป็นปกติ การขาดโคลีนในสัตว์ทดลอง ทำให้มีไขมันสะสมในตับและนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับ
โคลีน
โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีความสำคัญต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างของผนังเซลล์ (Structural integrity of cell membranes) เมตาบอลิซึมของเมธิล (Methyl metabolism) การส่งผ่านของกระแสประสาท (Cholinergic neurotransmission) การส่งสัญญาณผ่านผนังเซลล์ (Transmembrane signaling) และเมตาบอลิซึมกับการขนส่งของไขมันและโคเลสเตอรอล (อ้างอิงที่ 1)
โคลีนเป็นสารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่ง Acetylcholine นี้เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ และหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง (อ้างอิงที่ 1) ดังนั้น โคลีนจึงมีผลต่อกระบวนการส่งกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำและการรับรู้ เรียกได้ว่ามีบทบาทในพัฒนาการด้านการเรียนรู้โดยเฉพาะระบบความจำ (อ้างอิงที่ 2) รวมถึงมีการศึกษาในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) ด้วย (อ้างอิงที่ 3)
บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งของโคลีนคือ ทำให้ตับสามารถทำการขนถ่ายไขมันได้ (Fat transportation) และลดการสะสมไขมันในตับ (Hepatic steastosis) การทดลองในหนูพบว่า หากขาดโคลีนก็จะเกิดการสะสมไขมันที่ตับ (อ้างอิงที่ 4) การศึกษาวิจัยในคนก็พบว่า ผู้ที่ได้รับอาหารทางเส้นเลือด และมีการขาดโคลีนก็จะเพิ่มไขมันสะสมในตับเช่นกัน และยังมีระดับเอนไซม์ของตับสูงขึ้น ซึ่งเป็นอาการของภาวะตับอักเสบอีกด้วย และเมื่อได้รับโคลีนก็จะลดการสะสมไขมัน และลดการอักเสบของตับได้จริง (อ้างอิงที่ 5) สำหรับสัตว์ทดลอง เช่น หนู สภาวะที่ตับมีไขมันสะสมนี้ยังร่วมไปกับเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งที่ตับได้ (อ้างอิงที่ 6) ในทางกลับกันเมื่อหนูทดลองเหล่านี้ได้รับโคลีนเสริม ก็ลดการเกิดมะเร็งในตับได้เช่นกัน (อ้างอิงที่ 7)
Choline
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโคลีน
นอกจากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว โคลีนยังมีประโยชน์ในด้านช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือด หัวใจด้วย (อ้างอิงที่ 1)
ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน (Adequate Intake) สำหรับผู้ใหญ่เพศชายและหญิง คือ 550 mg และ 425 mg ตามลำดับ ส่วนในเด็กช่วงอายุ 1-18 ปี จะเป็นดังนี้
เอกสารอ้างอิง
1. he National Academies Press, Dietary Reference Intakes for Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B 12, Pantothenic acid, Biotin and Choline. 12 Choline, pages 390-422. http://darwin.nap.edu/skimit.cgi? Recid=6015&chap=390-422
2. Verbal and visual memory improve after choline supplementation in long-term total parenteral nutrition : a pilot study. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2001 Jan- Feb;25(1):30-5
3. Cognitive improvement in mild to moderate Alzheimer’s dementia after treatment with the acetylcholine precursor choline alfoscerate: a multicenter, double-blind, randomized, placebo-controlled trial, Clin Ther. 2003 Jan;25(1):178-93
4. Choline-deficiency fatty liver: impaired release of hepaic triglycerides, J Lipid Res. 1968 Jul;9(4):437-46
5. Lecithin increases plasma free choline and decreases hepatic steatosis in long-term total parenteral nutrition patients, Gastroenterology, 1992 Apr;102(4 Pt 1):1363-70
6. Accumulation of 1,2-sn-diradlglycerol with increased membrane-associated protein kinase C may be the mechanism for spontaneous hepatocarcinogenesis in choline-deficient rats, J Biol Chem, 1993 Jan25;268(3):2100-5
7. Inhibition of hepatocarcinogenesis in mice by dietary methyl donors methionine and choline. Nutr Cancer, 1990;14(3-4):175-81
8. Choline, an essential nutrient for humans, FASEB J. 1991 Apr;5(7):2093-8
9. Choline deficiency caused reversible hepatic abnormalities in patients receiving parenteral nutrition: proof of a human choline requirement: a placebo-controlled trial. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2001 Sep-Oct;25(5):260-8
โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีความสำคัญต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างของผนังเซลล์ (Structural integrity of cell membranes) เมตาบอลิซึมของเมธิล (Methyl metabolism) การส่งผ่านของกระแสประสาท (Cholinergic neurotransmission) การส่งสัญญาณผ่านผนังเซลล์ (Transmembrane signaling) และเมตาบอลิซึมกับการขนส่งของไขมันและโคเลสเตอรอล (อ้างอิงที่ 1)
โคลีนเป็นสารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่ง Acetylcholine นี้เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ และหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง (อ้างอิงที่ 1) ดังนั้น โคลีนจึงมีผลต่อกระบวนการส่งกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำและการรับรู้ เรียกได้ว่ามีบทบาทในพัฒนาการด้านการเรียนรู้โดยเฉพาะระบบความจำ (อ้างอิงที่ 2) รวมถึงมีการศึกษาในการใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) ด้วย (อ้างอิงที่ 3)
บทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งของโคลีนคือ ทำให้ตับสามารถทำการขนถ่ายไขมันได้ (Fat transportation) และลดการสะสมไขมันในตับ (Hepatic steastosis) การทดลองในหนูพบว่า หากขาดโคลีนก็จะเกิดการสะสมไขมันที่ตับ (อ้างอิงที่ 4) การศึกษาวิจัยในคนก็พบว่า ผู้ที่ได้รับอาหารทางเส้นเลือด และมีการขาดโคลีนก็จะเพิ่มไขมันสะสมในตับเช่นกัน และยังมีระดับเอนไซม์ของตับสูงขึ้น ซึ่งเป็นอาการของภาวะตับอักเสบอีกด้วย และเมื่อได้รับโคลีนก็จะลดการสะสมไขมัน และลดการอักเสบของตับได้จริง (อ้างอิงที่ 5) สำหรับสัตว์ทดลอง เช่น หนู สภาวะที่ตับมีไขมันสะสมนี้ยังร่วมไปกับเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งที่ตับได้ (อ้างอิงที่ 6) ในทางกลับกันเมื่อหนูทดลองเหล่านี้ได้รับโคลีนเสริม ก็ลดการเกิดมะเร็งในตับได้เช่นกัน (อ้างอิงที่ 7)
Choline
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโคลีน
นอกจากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว โคลีนยังมีประโยชน์ในด้านช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและหลอดเลือด หัวใจด้วย (อ้างอิงที่ 1)
ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน (Adequate Intake) สำหรับผู้ใหญ่เพศชายและหญิง คือ 550 mg และ 425 mg ตามลำดับ ส่วนในเด็กช่วงอายุ 1-18 ปี จะเป็นดังนี้
- อายุ 1-3 ปี (ชาย/หญิง) 200 mg
- อายุ 4-8 ปี (ชาย/หญิง) 250 mg
- อายุ 9-13 ปี (ชาย/หญิง) 375 mg
- อายุ 14-18 ปี (ชาย) 550 mg
- อายุ 14-18 ปี (หญิง) 550 mg (อ้างอิงที่ 1)
เอกสารอ้างอิง
1. he National Academies Press, Dietary Reference Intakes for Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B 12, Pantothenic acid, Biotin and Choline. 12 Choline, pages 390-422. http://darwin.nap.edu/skimit.cgi? Recid=6015&chap=390-422
2. Verbal and visual memory improve after choline supplementation in long-term total parenteral nutrition : a pilot study. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2001 Jan- Feb;25(1):30-5
3. Cognitive improvement in mild to moderate Alzheimer’s dementia after treatment with the acetylcholine precursor choline alfoscerate: a multicenter, double-blind, randomized, placebo-controlled trial, Clin Ther. 2003 Jan;25(1):178-93
4. Choline-deficiency fatty liver: impaired release of hepaic triglycerides, J Lipid Res. 1968 Jul;9(4):437-46
5. Lecithin increases plasma free choline and decreases hepatic steatosis in long-term total parenteral nutrition patients, Gastroenterology, 1992 Apr;102(4 Pt 1):1363-70
6. Accumulation of 1,2-sn-diradlglycerol with increased membrane-associated protein kinase C may be the mechanism for spontaneous hepatocarcinogenesis in choline-deficient rats, J Biol Chem, 1993 Jan25;268(3):2100-5
7. Inhibition of hepatocarcinogenesis in mice by dietary methyl donors methionine and choline. Nutr Cancer, 1990;14(3-4):175-81
8. Choline, an essential nutrient for humans, FASEB J. 1991 Apr;5(7):2093-8
9. Choline deficiency caused reversible hepatic abnormalities in patients receiving parenteral nutrition: proof of a human choline requirement: a placebo-controlled trial. JPEN J Parenter Enteral Nutr. 2001 Sep-Oct;25(5):260-8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น