วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อผู้หญิง


เมล็ดแฟลกซ์
            เมล็ดแฟลกซ์เป็นที่รู้จักในการเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ชื่อว่า กรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha Linolenic Acid, ALA) และพฤษเคมีที่ชื่อว่า ลิกแนน (Lignan) ซึ่งคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจน
ลิกแนนที่พบมากในเมล็ดแฟลกซ์คือ ซีโคไอโซลาริซิเรซินอล ไดไกลโคไซด์ (Secoisolariciresinol diglycoside, SDG) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นเอนเทอโรไดออล (Enterodiol) และเอนเทอโรแลกโตน (Enterolactone) โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ซึ่งสารทั้งสองนี้มีคุณสมบัติเป็น “ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)”

ประโยชน์ของแฟลกซ์
-    ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรค ลิกแนนที่พบในเมล็ดแฟลกซ์มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และเบาหวาน
-    ป้องกัน และต้านมะเร็งเต้านม สาเหตุหนึ่งของมะเร็งเต้านมจะเกิดจากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป หรือเซลล์ในเนื้อเยื่อเต้านมมีความไวต่อฮอร์โมนมากไป ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมที่มีความไวต่อฮอร์โมนนี้เกิดการแบ่งตัว และเพิ่มจำนวนผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอก และก่อให้เกิดมะเร็ง มีการศึกษาที่พบว่าเมล็ดแฟลกซ์ , เอนเทอโรไดออล และเอนเทอโรแลกโตน จะไม่แสดงคุณสมบัติของเอสโตรเจนในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม แต่จะแสดงคุณสมบัติในการต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะไปลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้องอกและเพิ่มการตายของเซลล์มะเร็ง  โดยพบว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมที่รับประทานเมล็กแฟลกซ์เสริม จะมีการโตของเนื้องอกน้อยลง และมีการตายของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น ในประเทศแคนาดามีการศึกษาพบว่า การบริโภคเมล็ดแฟลกซ์สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งผลจากการศึกษานี้ทำให้เห็นแนวทางในการป้องกันอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งเต้านม
-    ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการสร้างกระดูก ระบบการทำงานของหัวใจและสมอง สุขภาพผิว และมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็ก่อให้เกิดโทษในเนื้อเยื่อเต้านม และเยื่อบุมดลูก (Endometrium) ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ลิกแนนจากแฟลกซ์มีคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งสามารถแสดงคุณสมบัติทั้งเสริม และต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ตามสภาพความเหมาะสมของร่างกายจึงไม่กระตุ้นความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
-    มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ลิกแนนจากแฟลกซ์มีผลต่อการแสดงออกของยีนที่จะไปลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อในหนูทดลองที่ให้กินอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง และยังมีการศึกษาในประเทศแคนาดาพบว่า ผู้หญิงที่มีระดับเอนเทอโรแลกโตนสูงจากการบริโภคลิกแนน จะมีดัชนีมวลร่างกาย (BMI) และมวลไขมันต่ำกว่าผู้หญิงที่มีระดับเอนเทอโรแลกโตนต่ำ และยังมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
-    บรรเทาอาการวัยทอง มีการศึกษาในผู้หญิงวัยทองที่เป็นโรคเบาหวาน เพื่อจะดูถึงประสิทธิภาพในการลดดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลในเลือดของการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ ซึ่งผลปรากฏว่า นอกจากดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลจะลดลงแล้ว อาการวัยทองซึ่งได้แก่ ร้อนวูบวาบ ภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ เหงื่อออกตอนกลางคืน และความรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ก็บรรเทาลงด้วย
-    ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่า ลิกแนนจากแฟลกซ์สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก เนื่องจากภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

มะขามป้อม
        เป็นผลไม้ที่มีวิตามินสูงและมีคุณค่าทางสมุนไพร มีสารแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระ  ยับยั้งการสร้างเมลานิน และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดของมะขามป้อมมีฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ต้านมะเร็ง ต้านไวรัส ลดการอักเสบและเพิ่มภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย

มะขามป้อมกับมะเร็ง
         มีการศึกษามากว่า 2 ทศวรรษ ยืนยันว่ามะขามป้อมมีคุณสมบัติในการป้องกันและต้านมะเร็งได้หลายชนิด โดยพบว่ามะขามป้อมเป็นสมุนไพรต้านมะเร็งที่ไม่มีความเป็นพิษเหมือนยารักษามะเร็งทั่วไป และยังพบว่ามะขามป้อมช่วยลดความเป็นพิษของยารักษาโรคมะเร็งอีกด้วยเมื่อใช้ร่วมกัน
•    กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ในหลอดทดลอง
•    ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านมในหลอดทดลอง
•    ลดการกระตุ้นของสารก่อเนื้องอกในตับของหนูทดลอง และลดการกระตุ้นของสารก่อมะเร็งในหนูทดลอง
•    ยับยั้งการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอของสัตว์ทดลอง
•    ลดความเป็นพิษของยารักษาโรคมะเร็งไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) ในสัตว์ทดลอง

วัยทองกับมะขามป้อม
       มีการศึกษาในหนูทดลองที่ตัดรังไข่พบว่า การได้รับสารสกัดจากมะขามป้อมสามารถช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลดภาวะการดื้ออินซูลิน รวมทั้งยังมีการศึกษาในหนูทดลองที่ตัดรังไข่ พบว่าป้องกันตับอักเสบเนื่องจากภาวะไขมันพอกตับได้ จากทั้ง 2 การศึกษานี้ จึงสรุปได้ว่า มะขามป้อมน่าจะส่งผลดีต่อสุขภาพ และมีประโยชน์ในการป้องกันโรคของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้

ขมิ้นชัน
       เหง้าขมิ้นชันมีสารประกอบที่สำคัญเป็นน้ำมันหอมระเหย และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่า เคอร์คูมิน มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ต้านอนุมูลอิสระ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องการต้านอักเสบ โดยมีงานวิจัยที่พบว่าสารสกัดจากขมิ้นมีคุณสมบัติในการต้านอักเสบได้ดีกว่ายาสเตียรอยด์ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านการเจริญของเนื้องอก จึงนิยมใช้ในการต้านโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง  และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

ขมิ้นชันกับการต้านมะเร็ง
        จากการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์ได้แสดงให้เห็นว่า ขมิ้นชันมีคุณสมบัติในการป้องกันและต้านมะเร็งหลายชนิดได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ตับอ่อน เต้านม ต่อมลูกหมาก ปอด ศรีษะ และคอ

ขมิ้นชันกับวัยทอง
         มีการศึกษาผลของการได้รับสารสกัดจากขมิ้นชันในผู้หญิงวัยทองพบว่า ผู้ที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชันมีการทำงานของเยื้อบุผนังหลอดเลือดดีขึ้น ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในผู้หญิงวัยทอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่าขมิ้นชันป้องกันการเสียมวลกระดูกในหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทอง

เอกสารอ้างอิง
1. Jungeström, M. B., Thompson, L. U., & Dabrosin, C. (2007). Flaxseed and its lignans inhibit estradiol-induced growth, angiogenesis, and secretion of vascular endothelial growth factor in human breast cancer xenografts in vivo. Clinical Cancer Research, 13(3), 1061-1067.
2. Lowcock, E. C., Cotterchio, M., & Boucher, B. A. (2013). Consumption of flaxseed, a rich source of lignans, is associated with reduced breast cancer risk. Cancer Causes & Control, 24(4), 813-816.
3. Gruber, C. J., Tschugguel, W., Schneeberger, C., & Huber, J. C. (2002). Production and actions of estrogens. New England Journal of Medicine, 346(5), 340-352.
4. Morisset, A. S., Lemieux, S., Veilleux, A., Bergeron, J., John Weisnagel, S., & Tchernof, A. (2009). Impact of a lignan-rich diet on adiposity and insulin sensitivity in post-menopausal women. British journal of nutrition, 102(02), 195-200.
5. Kapoor, S., Sachdeva, R., & Kochhar, A. (2011). Effect of Flaxseed Supplementation on body mass Index and Blood Glucose Levels of Menopausal Diabetic Females. Journal of Research, 48(1and2), 77-83.
6. Nahla, E., Thabet, H. A., & Ahmed, H. (2013). The effect of supplementation with flaxseed and its extract on bone health. Nature & Science, 11(5).
7. Singh, Ekta, et al. (2011). Phytochemistry, traditional uses and cancer chemopreventive activity of Amla (Phyllanthus emblica): the sustainer. Journal of Applied Pharmaceutical Science, 2.1: 176-183.
8. Baliga, Manjeshwar Shrinath, and Jason Jerome Dsouza. (2011). Amla (Emblica officinalis Gaertn), a wonder berry in the treatment and prevention of cancer. European Journal of Cancer Prevention, 20.3: 225-239.
9. Koshy, Smitha M., et al. (2012). Amla (Emblica officinalis) extract is effective in preventing high fructose diet–induced insulin resistance and atherogenic dyslipidemic profile in ovariectomized female albino rats. Menopause, 19.10: 1146-1155.
10.Koshy, S. M., et al. (2015). Amla prevents fructose-induced hepatic steatosis in ovariectomized rats: role of liver FXR and LXRα. Climacteric, 18.2: 299-310.
11.Lopresti, Adrian L., et al. (2014). Curcumin for the treatment of major depression: a randomised, double-blind, placebo controlled study. Journal of affective disorders. 167: 368-375.
12.Dulbecco, Pietro, and Vincenzo Savarino. (2013).Therapeutic potential of curcumin in digestive diseases. World journal of gastroenterology, 19.48: 9256.
13.Devassy, Jessay G., Ifeanyi D. Nwachukwu, and Peter JH Jones. (2015). Curcumin and cancer: barriers to obtaining a health claim. Nutrition Reviews, nuu064.


สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น