วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วิตามินบี 7 ชนิด วิตามินซี และโคลีน

          วิตามินเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย  แม้ว่าร่างกายต้องการวิตามินไม่มากนัก แต่ก็ขาดไม่ได้ เนื่องจากจะทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมา เช่น หากขาดวิตามินซี จะทำให้เป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน หากขาดวิตามินบี 1 จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา หากขาดวิตามินเอ จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้ เป็นต้น
           นักวิชาการได้แบ่งวิตามินออกเป็น 2 ชนิด ตามคุณสมบัติของวิตามิน ดังนี้
- ชนิดแรกคือวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายจะนำวิตามินไปใช้ประโยชน์ได้ต้องมีน้ำเป็นตัวพาไป ได้แก่ วิตามินบีรวม และวิตามินซี
- วิตามินอีกชนิดหนึ่งคือ วิตามินที่ละลายในน้ำมัน  วิตามินชนิดนี้ ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต้องมีน้ำมันเป็นตัวนำ วิตามินในกลุ่มนี้ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค (อ้างอิงที่ 1)
           วิตามินบีรวมประกอบด้วยวิตามินบีหลายชนิด ที่รู้จักแพร่หลายคือ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 โฟเลต และไนอะซิน วิตามินกลุ่มนี้ แม้ว่าจะบริโภคเกินความต้องการในแต่ละวัน ก็จะไม่มีอันตราย เนื่องจากวิตามินกลุ่มนี้มีคุณสมบัติละลายในน้ำ เมื่อได้รับมากเกินไปร่างกายก็จะขับออกเองได้  จึงไม่สะสมให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำบัญชีแสดงปริมาณของวิตามินที่ละลายในน้ำที่แนะนำให้ควรบริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes หรือThai RDI) รวมถึงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของวิตามินที่ละลายในน้ำแต่ละชนิด ตามรายละเอียดในตารางที่ 1

ตารางที่ 1:แสดงปริมาณของวิตามินที่ละลายในน้ำ ที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทย อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหารของวิตามินที่ละลายในน้ำ (อ้างอิงที่ 2-3)
วิตามิน
ที่ละลายในน้ำ
ปริมาณที่แนะนำ
ให้บริโภคต่อ 1วัน
ข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับ
หน้าที่ของสารอาหาร
วิตามินบี 1
(Thiamin)
1.5มิลลิกรัม (mg)
- ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต
- มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
วิตามินบี 2
(Riboflavin)
1.7 มิลลิกรัม (mg)
- ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และ   ไขมัน
ไนอะซิน (Niacin)
หรือวิตามินบี 3
20มิลลิกรัม เอ็น อี
(mg NE)
- ช่วยให้เยื่อบุทางเดินอาหารและผิวหนังอยู่ในสภาพปกติ
- ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
กรดแพนโทธินิค (Pantothenic Acid)
หรือวิตามินบี 5
6 มิลลิกรัม (mg)
- ช่วยในการใช้ประโยชน์(เมตาบอลิซึม) ของไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
- ช่วยในการใช้ประโยชน์ของไขมันและคาร์โบไฮเดรต
- ช่วยในการเมตาบอลิซึมของไขมันและคาร์โบไฮเดรต
วิตามินบี6
(Vitamin B6)
2 มิลลิกรัม (mg)
- มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้สมบูรณ์
- มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการทำงานของระบบประสาท
โฟเลต(Folate)
หรือวิตามินบี 9
200 ไมโครกรัม (μg)
- มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง
วิตามินบี12
(Vitamin B12)
2 ไมโครกรัม (μg)
- มีส่วนช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
- มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
วิตามินซี
(Vitamin C)
60 มิลลิกรัม (mg)
- ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
- มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
- มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน

             โคลีน (Choline)เป็นสารอาหารอีกตัวที่ละลายในน้ำ และมักจะถูกจัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มเดียวกับวิตามินบีรวม โคลีนเป็นสารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine)ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ และหน้าที่อื่นๆ อีกหลายประการ โดยมีปริมาณที่แนะนำว่าเพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน (Adequate Intake) สำหรับผู้ใหญ่ เพศชายและหญิง คือ 550 mg และ 425 mg ตามลำดับ (อ้างอิงที่ 4)
              โดยวิตามินที่กล่าวมาข้างต้นเหล่านี้ สามารถพบได้ในอาหารต่างๆ อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาวะรีบเร่งในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ดังนั้น โอกาสที่จะได้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ จึงเป็นไปได้ยาก เช่น นักเรียนนักศึกษาที่ช่วงเช้ารีบเร่งจนไม่ได้รับประทานอาหารเช้า กลางวันก็มักจะรับประทานอาหารจานเดียว เป็นต้น ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยป้องกันให้ไม่ขาดสารอาหารเหล่านี้คือ รับประทานอาหารที่มีการเติมสารอาหารเหล่านี้ลงไป ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและอยู่ในรูปแบบที่รับประทานได้สะดวก อีกทั้งมีรสชาติอร่อย ชวนรับประทาน เช่น รูปแบบเม็ดเคี้ยว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้รับประทานผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็นยา เนื่องจากจะมีปริมาณของวิตามินสูงมาก ซึ่งทั่วไปนั้น มักจะใช้รักษาผู้ป่วยที่แสดงอาการของการขาดวิตามินแล้วเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง
1. วิตามิน...กินให้เป็น (ตอนที่ 1). ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
3.ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
4.Dietary Reference Intakes for Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B 12, Pantothenic acid, Biotin and Choline. 12 Choline. The National Academies Press. pages 390-422

สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น