วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบาโคพา

        
          บาโคพา (Bacopa) หรือ พรมมิ มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Bacopa monnieri เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อบำรุงสมองและความจำ
          บาโคพา (Bacopa) หรือ พรมมิ มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Bacopa monnieriเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อบำรุงสมองและความจำ สามารถพบได้ที่ประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชีย สรรพคุณของบาโคพาตามตำรับยาไทยนั้นใช้ขับโลหิต แก้ไข้ ขับพิษร้อน ขับเสมหะ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจและบำรุงประสาท ในตำราอายุรเวทของอินเดียได้มีการใช้บาโคพาเป็นสมุนไพรสำหรับช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง (อ้างอิงที่1)และในทางการแพทย์แผนไทยและอายุรเวทมีการนำมาใช้ในการรักษาอาการผิดปกติทางสมอง เช่น แก้ลมชัก แก้ปวดประสาท ช่วยในการนอนหลับ เป็นต้น (อ้างอิงที่ 2)
จากการวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของบาโคพา พบว่า มีสารกลุ่ม Saponins ที่ชื่อว่า Bacosides เป็นสารออกฤทธิ์ (อ้างอิงที่ 2) โดยมีงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่า Bacosides มีฤทธิ์ส่งผลดีต่อระบบประสาทส่วนกลางด้านการกระตุ้นการเรียนรู้และความจำ ดังนี้
-             กระตุ้นการเรียนรู้ ช่วยเพิ่มและฟื้นฟูความจำ (อ้างอิงที่ 1)
-             คลายความกังวล (อ้างอิงที่ 1)
-             ปกป้องการเกิดความเสียหายของสมองและระบบประสาท โดยต้านการเกิดอนุมูลอิสระและต้านเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท (Acetylcholine) ลด Beta-amyloidอีกทั้งช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และปรับสัญญาณประสาท (Neurotransmitter modulation) จึงช่วยให้สมองและระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น (อ้างอิงที่ 3)

งานวิจัยผลของบาโคพาต่อการฟื้นฟูความจำในผู้สูงอายุ
           มีการศึกษาผลของบาโคพาต่อการฟื้นฟูความจำในอาสาสมัครที่มีภาวะสูญเสียความจำเนื่องจากอายุมาก (อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป) โดยให้อาสาสมัครรับประทานสารสกัดมาตรฐานบาโคพา ขนาด 125 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ในระหว่างที่ได้รับประทานบาโคพา อาสาสมัครสามารถควบคุมความคิดและจิตใจได้ดีขึ้น ความจำตรรกะ (Logical memory) และการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ (Paired associated learning) ดีขึ้น แสดงให้เห็นว่า บาโคพาสามารถช่วยฟื้นฟูการสูญเสียความจำที่มีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้นได้ (อ้างอิงที่ 4)
           มีอีกการศึกษาในอาสาสมัครชาวออสเตรเลีย 81 คน ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี โดยให้อาสาสมัครรับประทานผลิตภัณฑ์สารสกัดบาโคพา วันละ 300 มก. เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า อาสาสมัครมีทักษะเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้โดยผ่านการมองภาพดีขึ้น และใช้เวลาคิดในการตอบคำถามน้อยลง เมื่อเทียบกับอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (อ้างอิงที่ 5)
           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในอาสาสมัคร 48 คน ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี (เฉลี่ย 73.5 ปี) โดยให้รับประทานผลิตภัณฑ์สารสกัดบาโคพา วันละ 300 มก. เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า บาโคพามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นความทรงจำได้ (อ้างอิงที่ 6)
           อีกการศึกษาที่น่าสนใจคือ การศึกษาในอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 50-75 ปี (65+8.79 ปี) จำนวน 23 คน โดยให้อาสาสมัครรับประทานผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดบาโคพาวันละ 1 แคปซูล (1 แคปซูล ประกอบด้วยสารสกัดบาโคพามาตรฐาน 450 มก.) ทุกวันหลังอาหารเช้า เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า อาสาสมัครมีทักษะในการเรียนรู้เกี่ยวกับการทดสอบความจำดีขึ้น เมื่อเทียบกับอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และไม่พบรายงานอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว (อ้างอิงที่ 7)

งานวิจัยผลของบาโคพาด้านการเรียนรู้และความจำในเด็ก
             มีการศึกษาในอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 4-18 ปี (10.54+3.02 ปี) จำนวน 24 คน โดยให้อาสาสมัครรับประทานผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดบาโคพา วันละ 1 แคปซูล (1 แคปซูล ประกอบด้วยสารสกัดบาโคพามาตรฐาน 225 มก.) ทุกวันหลังอาหารเช้า เป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า อาสาสมัครมีคะแนนการทดสอบประสิทธิภาพการเรียนรู้ดีขึ้น ซึ่งได้แก่ ความจำตรรกะ ความจำที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต (Memory related to personal life) ความจำจากการมองภาพ และการได้ยินเสียง (Visual and auditory memory) และไม่พบรายงานอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว (อ้างอิงที่ 8)
อีกงานวิจัยศึกษาผลในการช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของบาโคพาในเด็กในประเทศอินเดีย โดยทำการทดสอบกับเด็ก 40 คน ที่มีอายุระหว่าง 6-8 ปี ให้รับประทานบาโคพาในรูปแบบ Bacopa syrup วันละ 3 ช้อนชา (1 ช้อนชาประกอบด้วยผงบาโคพา 350 มก.) นาน 3 เดือน พบว่า เด็กมีความสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก (อ้างอิงที่ 9)
              นอกจากนี้มีการศึกษาในเด็กสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder) จำนวน 19 คน อายุเฉลี่ย 8.3 ปี โดยให้รับประทานสารสกัดบาโคพามาตรฐาน (ประกอบด้วย Bacoside 20%) ขนาด 50 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ พบว่าเด็กมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ดีขึ้น โดยมีความจำตรรกะ การเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ และผลการทดสอบด้านการพูดและภาษา (Sentence repetition test) ดีขึ้น (อ้างอิงที่ 10)
             ในประเทศไทยเอง ก็ได้มีการศึกษาผลของบาโคพาในอาสาสมัครวัยกลางคนและสูงอายุ (มากกว่า 55 ปี) จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และได้รับผลิตภัณฑ์ยาเม็ดบาโคพาขนาด 300 และ 600 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์บาโคพา สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของอาสาสมัคร โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัว เพิ่มการตื่นตัวต่อสิ่งเร้า มีสมาธิมากขึ้น เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความจำ คลายอาการซึมเศร้า จากการศึกษา ยังไม่พบอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์อีกด้วย (อ้างอิงที่ 11)

งานวิจัยรองรับด้านความปลอดภัยการใช้บาโคพาในมนุษย์
              การศึกษาความเป็นพิษของบาโคพาทางคลินิคในอาสาสมัครสุขภาพดี 23 คน อายุระหว่าง 18-45 ปี โดยให้รับประทานผลิตภัณฑ์สารสกัดบาโคพาขนาด 300 มก. ใน 15 วันแรก และหากไม่พบอาการผิดปกติจะมีการปรับขนาดเพิ่มเป็น 450 มก. ต่อไปอีก 15 วัน ผลการทดลองพบว่า ไม่พบผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ในอาสาสมัครแต่อย่างใด อีกทั้งค่าโลหิตวิทยา ค่าชีวเคมีในร่างกาย และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หลังรับประทานสารสกัดบาโคพาจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (อ้างอิงที่ 12)
              บาโคพาจึงเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจและถูกจับตามองในแง่การบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ สามารถตอบโจทย์สำหรับคนที่มีปัญหาด้านความจำได้ทุกเพศทุกวัย เพื่อลดภาวะการเสื่อมสภาพสมองและบำรุงสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เอกสารอ้างอิง
  1. พรมมิ: สมุนไพรรักษาอาการความจำเสื่อม. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 29(3): 2555
  2.  พรมมิ สมุนไพรเพื่อสุขภาพสมอง. ธรรมศาสตร์เวชสาร 13(4):2556
  3. Neuropharmacological Review of the Nootropic Herb Bacopa monnieri. Rejuvenation Res. 2013 Aug; 16(4): 313–326
  4. Randomized controlled trial of standardized Bacopa monniera extract in age-associated memory impairment. Indian J Psychiatry. 2006 Oct-Dec; 48(4): 238–242
  5. Does Bacopa monnieri improve memory performance in older persons? Results of a randomized, placebo-controlled, double-blind trial.J Altern Complement Med. 2010Jul;16(7):753-9
  6. Effects of a Standardized Bacopa monnieri Extract on Cognitive Performance, Anxiety, and Depression in the Elderly: A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Trial. J Altern Complement Med. 2008 Jul; 14(6): 707–713
  7. Efficacy and Tolerability of BacoMind®on Memory Improvement in Elderly Participants - A Double Blind Placebo Controlled Study. Journal of Pharmacology and Toxicology 2008 Jun; 3(6):425-434
  8. BacoMind®: A Cognitive Enhancer in Children Requiring Individual Education Programme. Journal of Pharmacology and Toxicology 2008 Apr; 3(4):302-310
  9. Efficacy of Bacopa monniera in revitalizing intellectual functions in children. J Res Edu Indian Med. 1987;1:12
  10. พรมมิ: สมุนไพรรักษาอาการความจำเสื่อม. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 29(4): 2555
  11. การศึกษาพัฒนาพรมมิเพื่อใช้เป็นสมุนไพรบำรุงความจำ. การเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านสมุนไพรสู่ระดับอุตสาหกรรมครั้งที่ 2. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 2550
  12. Safety evaluation of BacoMind in healthy volunteers: a phase I study.Phytomedicine. 2007 May;14(5):301-8
สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น