วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพรีไบโอติก


          ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ในแง่ของคุณค่าทางอาหารความปลอดภัย และผลที่ดีต่อสุขภาพ จึงเป็นจุดกำเนิดผลิตภัณฑ์อาหารที่เรียกว่า ฟังก์ชันนอลฟู้ด (Functional food) ซึ่งเป็นอาหารที่มีผลต่อการทำหน้าที่ต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยมีบทบาทในการลดความเสี่ยงและอัตราในการเกิดโรค อาหารหลายชนิดจัดเป็น Functional food และพบได้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะกลุ่มพรีไบโอติก (Prebiotic) และโพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพลำไส้ (อ้างอิงที่ 1)

          โพรไบโอติก ( Probiotic) คือกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ดี เมื่อเข้าไปอยู่รในระบบของร่างกายแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยจุลินทรีย์นั้นทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของสภาพแวดล้อมในระบบลำไส้ (อ้างอิงที่ 2)

          จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ซึ่งโดยขนาดแล้วไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ จุลินทรีย์ที่ดีเป็นประโยชน์เรียกว่า โพรไบโอติก และ จุลินทรีย์ก่อโรค คือเป็นชนิดที่ไม่ดี เป็นโทษต่อร้างกายสำหรับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หรือโพรไบโอติกนั้น อาศัยอยู่ในร่างกายตรงส่วนของลำไส้ของมนุษย์ ทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ด้วยการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ให้มากขึ้น ลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคลง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่เป็นอันตราย รวมถึงยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคทำให้ไม่สามารถเกาะติดกับลำไส้ โดยวิธีหรั่งสารออกมาต่อต้านจุลินทรีย์ หรือเจริญเติบโตแย่งที่อันเป็นการป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคเจริญขึ้นมา ได้ และถูกขับออกทางอุจจาระไป

           เชื้อจุลินทรีย์ที่เรียกว่าเป็นโพรไบโอติกมีหลายชนิด แต่ที่เป็นที่นิยมอ้างอิงในงานวิจัย ได้แก่ Lactic acid bacteria (LAB) และ Bifidobacteria (อ้างอิงที่ 1) การใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติกในผลิตภัณฑ์อาหารควรมีอย่างน้อย 107 cfu ต่อกรัมหรือมิลลิลิตรของอาหาร (อ้างอิงที่ 3)

           พรีไบโอติก (Prebiotic) หมายถึง องค์ประกอบของอาหารที่ไม่มีชีวิต (Non-viable food component) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้รับประทาน (Host) โดยมีส่วนช่วยในการปรับชนิตและจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ คุณสมบัติของสารที่จะถูกจัดให้เป็นพรีไอโอติกมีอยู่ 3 ด้านคือ

- ด้านองค์ประกอบ – ต้องมีใช่สิ่งมีชีวิตหรือยา แต่เป็นสารที่สามารถบอกลักษณะทางเคมีได้ โดยทั่วไปอยู่ในชั้นคุณอาหาร (Foodgrade)

- ด้านประโยชน์ต่อสุขภาพ – สามารตรวจวัดได้ และไม่ได้เกิดจากการดูดซึมองค์ประกอบเข้าสู่กระแสเลือด หรือไม่ใช่ผลที่เกิดจากการทำงานขององค์ประกอบนั้นเพียงอย่างเดียวและไม่เกิดผลข้างเคียงที่ควบคุมไม่ได้

- ด้านการปรับชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ (Modulation) – แสดงให้เห็นว่าการที่มีองค์ประกอบของสารนั้นมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ส่วนประกอบและการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้รับประทาน โดยมีกลไกการหมัก การยับยั้งตัวรับ (Receptor blockage) หรืออื่นๆ

ทั้งนี้การที่สารใดจะเป็นพรีไบโอติกได้นั้น ต้องผ่านการทดสอบการประเมินคุณสมบัติ รวม 3 ด้าน ดังนี้

1. เป็นสารที่มีความคงตัวเมื่อผ่านเข้ามาในทางเดินอาหารส่วนบนจะทนต่อสภาพความ เป็นกรดในกระเพาะอาหาร ทนต่อการย่อยของเอมไซม์และไม่ดูดซึม

2. สารนั้นจะถูกหมักโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือทำหน้าที่อื่นๆ ในลำไส้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รับประทาน

3. สารนั้นจะเลือกเฉพาะเจาะจงส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีคือโพ รไบโอติก เช่น จุลินทรีย์บิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) และแล็กโทบาซิลไล (Lactobacillli) ความสามารถในการหมักแบบเลือกเฉพาะเจาะจงนี้เป็นสิ่งที่แยกพรีไบโอติก ออกจากใยอาหารที่ไม่ใช่พรีไบโอติก และต้องเป็นการวิจัยยืนยันผลนี้จากการทดลองในมนุษย์เท่านั้น

          กล่าวโดยสรุป สารที่จะจัดว่าเป็นพรีไอโอติกได้ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติในการเลือกส่งเสริม การเจริญเติบโตของโพรไบโอติก ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าให้ประโยชน์ต่อการมีสุขภาพดี จุลินทรีย์ที่นำมาใช้เป็นตัวชี้วัด คือ บิฟิโดแบคทีเรีย และแล็กโทบาซิลไล (อ้างอิงที่ 4)

          จากรายงานการประชุมด้านเทคนิคขององค์การอาหารและการเกษตรสหประชาชาติระบุว่า พรีไบโอติกที่นิยมใช้กันทั่วไปมีหลายชนิด เช่น อินนูลิน (Inulin), ฟรุคโต-โอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo-Oligosaccharides), กาแลตโต-โอลิโกแซคคาไรด์ (Galacto-Oligosaccharides) (อ้างอิงที่ 5) โดยอินนูลินนั้น ทั่วไปจะได้มาจากหัวชิโครี (Chicory root) (อ้างอิงที่ 6,7) สำหรับประโยชน์ต่อสุขภาพของพรีไอโอติก โดยเฉพาะนูลินนั้นสามารถสรุปได้โดยรวมดังนี้

         1. ผลต่อระบบทางเดินอาหาร ที่ลำไส้ (Gut lumen) อินนูลินจะเป็นอาหารให้กับแบคทีเรีย ซึ่งเมื่อแบคทีเรียนำไปใช้ก็จะให้พลังงานและสารบางชนิด เช่น กรดแลกติกและกรดไขมันชนิดสายสั้น (Short-chain fotty acids) ซึ่งเป็นผลิตผลจากกระบวนการหมัก ซึ่งการหมักนี้จะทำให้มีการกระตุ้นการเจิรญของกลุ่มจิลินทรีย์สุขภาพ (อ้างอิงที่ 2, 7, 8) และสภาวะความเป็นกรดที่เกิดขึ้น จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นโทษบางชนิดในลำไส้ได้ เช่น Clostridium perfringens, salmonella spp. และ Esherichla coll เป็นต้น จึงมีผลช่วงป้องกันอาการท้องเดินโดยเฉพาะจากการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติเหมือนใยอาหารอื่นๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ด้วย อันเป็นผลจากการเพิ่มน้ำหนักของอุจจาระ และผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้จึงช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น (อ้างอิงที่ 2) พบว่าอินนูลินยัง ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเซลล์เยื่อบุผิวของลำไส้ จึงช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบได้ (อ้างอิงที่ 8)
นอกจากนี้ยังมีการศึกษามากมายที่ชี้ชัดไปว่า อินนูลินสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ได้ (7) และยังมีงานวิจัยรองรับที่ชัดเจนว่า การได้รับอินนูลินสามารถเพิ่มจำนวน Bifidobacteria และ Lactobacilli ในมนุษย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 8,9)

           2. ผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุ จากการหมักพรีไบโอติกโดยแบคทีเรียในลำไส้ ได้กรดไขมันชนิดสายสั้น ความเป็นกรดจะช่วยในการดูดซึมแร่ธารตุบางชนิดได้ เช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี นอกจากนี้อาจด้วยกลไกลที่ทำให้มีการดึงเข้ามรช่วยในการละลายเกลือแร่ต่างๆ จึงมีการคดาการณ์ว่าน่าจะส่งผลช่วยลดความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้ (อ้างอิงที่ 2) ได้มีงานวิจัยรองรับเรื่องอินนูลินสามารถช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและแมกนีเซียม โดยการทดลองกับหนู พบว่าสามารถเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุได้จริง (อ้างอิงที่ 10) และเมื่อมีการทำวิจัยต่อในมนุษย์ เรื่องการเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม พบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน (อ้างอิงที่ 11)

           3. ผลการต่อการเผาผลาญไขมัน มีการศึกษาเกี่ยวกับการช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ (Tfigiyceride) แต่ยังไม่มีข้อมูลมากนัก ส่วนเรื่องของการลดโคเลสเตอรอลเช่นกันอย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอกลไลที่เป็นไปได้คือ การที่จุลินทรีย์สุขภาพเจริญจำนวนมากขึ้นก็จะช่วยย่อยสลายโคเลสเตอรอล และยับยั้งการดูดซึมผ่านผนังลำไส้ หรืออาจเนื่องจากผลจากกระบวนการหมักที่ได้กรดไขมันสายสั้นบางชนิด โดยเฉพาะกรดโพรพิโอนิก (Propionic acid) ซึ่งสามารถไปยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันรวมทั้งโคเลสเตอรอลดังนั้น พรีไบโอติกอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง ซึ่งมีสาเหตุจากไขมันได้ (อ้างอิงที่ 2) มีงานวิจัยรองรับว่า การให้อินนูลินในหนูทดลองสามารถช่วยลดโคเลสเตอรอลและไตกลีเซอรอลในเลือดได้ อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 12) สำหรับในมนุษย์แล้วมีการทดลองให้อินนูลิน 2 แบบ คือในปริมาณ 9 กรัมต่อวันในรูปแบบของอาหารเช้าประเภทธัญพืช และในปริมาณ 10 กรัมต่อวัน โดยใช้ผงอินนูลินผสมในอาหารหรือเครื่องดื่ม พบว่าสามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างรวดเร็วถึง 27% และ 19% ตามลำดับ และยัง ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลลงได้อีกด้วย (อ้างอิงที่ 13)

          4. ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน มีการรวบรวมงานวิจัยต่างๆ เรื่องอินูลินกับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันพบว่า อินนูลินมีผลช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยในพัฒนาการสร้างภูมิคุ้มกันของทารกอีกด้วย (อ้างอิงที่ 14)

          โดยสรุป อินนูลินช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้และโรคลำไส้อักเสบบรรเทาอาการ ท้องผูกเนื่องจากผลของการเพิ่มริมาตรอุจาระ และผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยป้องกันท้องเสียท้องเดินจากการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เนื่องจากช่วยเรื่องการดูดซึมของแคลเซียม ลดไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็งซึ่งมีสาเหตุจากไขมัน

เอกสารอ้างอิง

1. รู้จัก Probiotic และ Prebiotic กันหรือยัง, ภัทรา พลับเจริญสุข. บทความทางชีววิทยา, สถาบัน
2. พรีไบโอติกและโพรไบโอติก : อาหารสุขภาพ. ดร.สุญานี พงษ์ธนานิกร, ภาควิชาเคมี คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3 พฤศจิกายน 2549,
http://www.pham.chula.ac.th/clinic101_5/article/Radio89.paf
3. จุลินทรีย์โพรไบโอติก : การเลือกใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร, http://newsser.fda.moph.go.th/food/file/Publics/Public%20Hearing/Preblotic/Draft_Preblotic(Sept,2552).doc
5. FAO Technical Meeting on PREBIOTICS. FAO Technical Meeting Report. Food Quailty and Standards Service Food and Agricuiture Organization of the United Nations. September 15-16, 2007. http://www.fao.org/ag/agn/agns/files/Prebiotics_Tech_Meeting_Report.pdf
6. Inulin and oligofructose as dletary fiber: a review of the evidence. Crit Rev Food Sci. Nutr, 2001 Jul;41(5):353-62.
7. Inulin-type fructions and reduction in colon cancer risk: review of experimental and human data. Br J Nutr. 2005 Apr,93 Suppl 1:S73-90.
8. Inulin and oilgofructose: Impact on Intestinal diseases and disorders. Br J Nutr. 2005 Apr,93 Suppl 1:S61-5.
9. Effects of inulin on faecal bifidobacteria in human subjects. Br J Nutr. 1999 Nov;82(5):375-82.
10. Dietary inulin intake and age can signiflcantly affect intestinal absorption of calclum and magnesium in rats: a stable isotope approach. Nutr J. 2005: 4: 29.
11. An inulin-type fructan enhances calclum absorption primarily via an effect on colonic absorption in humans. J Nutr. 2007 Oct;137(10):2208-12.
12. Dletary inulin lowers plasma cholesterol and triacylglycerol and atters bilary bile acid profile in hamsters. J Nutr. 1998 Nov;128(11):1937-43.
13 Effects of inulin on lipid parameters in humans. J Nutr. 1999 Jul;129(7 Suppl):1471S-3S.
14. Inulin and oligofructose: review of experimental data on Immune modulation. J Nutr. 2007 Nov;137(11 Suppl):2563S-2567S.

สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น