วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้เพื่อผิวพรรณด้วยคุณประโยชน์ของขมิ้น กลูตาไธโอน และวิตามินซี,อี


          ชื่อขมิ้นในประเทศไทยเรียกตามภาษาท้องถิ่นมีหลายชื่อคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้นและหมิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง ก าแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน)

ประวัติความเป็นมา

            แหล่งกำเนิดที่แน่นอนของขมิ้นไม่เป็นที่รู้จัก แต่พบมากในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่มาจาก ภาคตะวันตกของอินเดีย ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกอยู่กลุ่มพืชจำพวกขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อเหง้ามีสีเหลืองอมส้ม หรือสีแสดออกแดง มีกลิ่นหอมและไม่มีเมล็ดพันธุ์ การขยายพันธุ์ใช้การแตกหน่อ โดยจะทำการเลือกจากลูกผสมระหว่างขมิ้นป่า (Curcuma aromatica) พื้นเมืองอินเดียศรีลังกาและเทือกเขาหิมาลัยตะวันออกและบางสายพันธุ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

            ขมิ้นมีการปลูกในอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่รู้จักในประเทศจีนเมื่อประมาณ 700 ปี, แอฟริกาตะวันออก 800 ปี และแอฟริกาตะวันตก 1,200 ปี ปัจจุบันมีการปลูกขมิ้นกันอย่างแพร่หลายในแถบประเทศเขตร้อนชื้น

            ขมิ้นมีสรรพคุณทางยามาตั้งแต่อดีต ก่อนคริสศักราช 250 ปี จากบันทึกการใช้ยาในเอเชียใต้, อ้างใน Treatises ภาษาสันสกฤตในทางการแพทย์ และใช้กันอย่างแพร่หลายในยาอายุรเวท และ Unani อายุรเวท Susruta ของเคท ในประเทศอินเดีย มีการบันทึกถึงการนำครีมที่มีขมิ้นเพื่อรักษาอาการของคนถูกที่วางยาพิษ แก้การอักเสบของแผลที่ผิวหนัง และบำรุงผิวพรรรณสำหรับผู้หญิง สำหรับศาสนาฮินดู ในพิธีแต่งงาน เจ้าสาวจะถูขมิ้นตามร่างกายของพวกเขา และกับทารกแรกเกิด โดยลูบบริเวณหน้าผากของพวกเขา เพื่อให้ผิวพรรณดูผ่องใส และแวววาวดูมีราศี ปราศจากสิ่งชั่วร้าย เหมือนในประเพณีไทยที่ผู้ชายที่กำลังบวชเป็นพระ จะใช้ขมิ้นในการขัดผิวในขั้นตอนการบวชนาค และพบว่าคนชนชั้นสูงในประเทศอินเดีย นำชิ้นส่วนของเหง้าของขมิ้น แช่ลงไปในน้ำเพื่อใช้ในอาบน้ำ มีรายงานว่าขมิ้นจะช่วยปรับโทนสีผิว หรือช่วยให้ผิวเนียน สว่างใส ผู้หญิงในแถบเอเชียจึงรู้ถึงสรรพคุณของขมิ้นเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังนิยมนำไปประกอบอาหารเพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหาร และเสริมสร้างสุขภาพผิวพรรณ ทั้งยังป้องกันโรคมะเร็ง โดยจะพบว่าคนแถบตะวันออกโดยเฉพาะคนเอเชียจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งน้อยกว่าคน แถบตะวันตก

คุณประโยชน์ของขมิ้น

         เหง้าขมิ้นชันประกอบด้วยสารสำคัญประเภทเคอร์คูมินอยด์เป็นสารสีเหลือง ประกอบด้วยเคอร์คูมิน, เดสเมทอกซี เคอร์คูมิน และบิสเดส เมทอกซีเคอร์คูมิน และน้ำมันหอมระเหย มีสีเหลืองอ่อน มีสารสำคัญคือ เทอร์เมอโรน และซิงจีเบอรีน นอกจากนี้ยังมีสารกลุ่มเซสควิเทอร์ปีน และโมโนเทอร์ปีน อื่นๆ ขมิ้นชันที่ดีต้องมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยจำพวกเคอร์คูมินอยด์คำนวณเป็นเคอร์ คูมินไม่น้อยกว่า 5% โดยน้ำหนัก และ 6% โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ตามลำดับตามมาตรฐานของตำรับยาสมนุไพรของประเทศไทย หรือไม่น้อยกว่า 3% และ 4% ตามลำดับ ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

         การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดหรือสารส าคัญของขมิ้นชันมีฤทธิ์ทางยาที่ส าคัญพอสรุปได้ ดังนี้

1. ฤทธิ์ลดการอักเสบผัวหนัง
2. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ antioxidant activity ของสารกลุ่มเคอร์คูมินนอยด์
3. ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์และต้านการเกิดมะเร็งจากการได้รับสารก่อมะเร็งที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
4. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
5. ฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก

กลูตาไธโอน ( Glutathione)

          กลูตาไธโอน (Glutathione) จัดเป็นสารประเภท Tripeptide ซึ่งประกอบด้วย กรดอะมิโน 3 ชนิด คือ Glutamine, Cysteine และ Glycine ที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่มีปริมาณน้อยอาจไม่เพียงพอในการนำไปสร้างสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อป้องกัน การเสื่อมต่างๆ ของเซลล์ในร่างกาย การรับประทานกลูตาไธโอนสามารถดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กได้ แต่ส่วนที่อยู่ในทางเดินอาหารส่วนอื่นจะถูกย่อย สลายได้เป็นกรดอะมิโนต่างๆ คือ กลูตามีน ซีสเทอีน และไกลซีน ซึ่งสามารถนำมาสร้างเป็นกลูตาไธโอนได้ใหม่ภายในเซลล์ กลูตาไธโอนช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส เนื่องจากมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการสร้างเม็ดสีเมลานินของผิวหนัง ที่ถูกสร้างขึ้นในหนังกำพร้าชั้นล่างสุด โดยถ้าร่างกายมีกลูตาไธโอนก็จะสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตเมลานินและทำให้ผิวมีสีคล้ำ เพราะเมื่อเอนไซม์ Tyrosinase ถูกยับยั้งก็จะทำให้มีการสร้าง Pheonomelanin

บทบาทของกลูตาไธโอนต่อผิว

1. ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวขาวขึ้น จุดด่างดำลดลง
2. เป็นแอนติออกซิแดนท์ (สารต้านอนุมูลอิสระ) ช่วยลดรอยหิวย่นและทำให้ผิวเรียบเนียนใส นอกจากนี้ กลูตาไธโอน จะสามารถทำงานได้ดีเมื่อมีวิตามินซีและวิตามินอีร่วมด้วย

วิตามินซี

         วิตามินซีมีความสำคัญต่อกระดูกเยื่ออ่อนและผิวหนัง กล่าวคือ วิตามินซีจะช่วยร่างกายในการผลิตและรักษาระดับของสารคอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เส้นเอ็นและผิวหนังที่กระจายอยู่ทั่วไปในโครงสร้างของร่างกาย

วิตามินซีกับความสวยความงาม

        วิตามินซีสามารถป้องกันอันตรายจากแสงยูวี หากเราทาวิตามินซีก่อนออกแดดจะสามารถลดปัญหาผิวไหม้ บรรเทาอาการอักเสบของผิวเมื่อถูกแสงแดด และพบว่าเมื่อทาร่วมกับวิตามินอีและครีมกันแดดที่มี Oxybenzone ก็จะสามารถป้องกันอันตรายจากแสงแดดได้ดีขึ้น ทั้งยังมีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant) ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดจากความชราของผิวหนังได้เป็นอย่างดี โดยมีการทดลองทาวิตามินซีที่ใบหน้าเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าทำให้เส้นริ้วรอยบางๆ จางหายไป ผิวหน้านุ่มเนียนขึ้น วิตามินซียังมีความโดดเด่นในการผูกใจคนรักสวยรักงาม คือ ท าให้เม็ดสีเมลานินจางลง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ของผิวพรรณ ช่วยให้ผิวขาวขึ้นได้ในคนที่เป็นฝ้า กระ รอยดำ ส่งผลให้ผิวพรรณสดใสเรียบเนียนและมีสุขภาพดีขึ้น และยังช่วยสมานแผล

วิตามินอี

          วิตามินอีเป็นคำเรียกสารประกอบกลุ่มหนึ่งชื่อ โทโคฟีรอล (Tocopherol) ซึ่งมี 4 รูปแบบหลักๆ คือ แอลฟา (Alpha) เบตา (Beta) แกมมา (Gamma) และเดลตา (Delta) แต่แอลฟาโทโคฟีรอล (Alpha-tocopherol) เป็นชนิดที่พบมากที่สุด และออกฤทธิ์มากที่สุด วิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายจึงเก็บสะสมไว้ได้นาน

บทบาทของวิตามินอีต่อผิว

-ปกป้องเยื่อบุเซลล์
-เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยเปลี่ยนอนุภาคออกซิเจนที่ไม่เสถียรให้เป็นกลาง จึงไม่ท าลายเซลล์ของร่างกาย
-เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด

เอกสารอ้างอิง

1. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มาตรฐานสมุนไพรเล่มที่ 3 ชุดเห็ดเทศ Senna alata (L.)Roxb. โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ. 2545
2. กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์กาแพทย์คู่มือสมุนไพรเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน Text and journal Corporation กรุงเทพฯ 2531:42.
3. J Ethnopharmacol 1990;29 : 337-340.
4. J Ethnopharmacol 1995;45 : 151-156.
5. J Ethnopharmacol 2003;84(1) : 1-4.
6. Arjinpathana N, Asawanonda P. Glutathione as an oral whitening agent : A randomized, double-blind, placebo-controlled study, Journal of Dermatological Treatment 2010: 1:6.
7. มัณฑนา ภานุมาภรณ์. Herbal Whitening Agents. ใน : มัณฑนา ภานุมาภรณ์, บรรณาธิการ. Cosmetics for Aestheic and Hwalth กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์กรุงเทพฯ เวชสาร ; 2552 : 107-130.
8. Witschai A, Reddy S, Stofer B, et al. The systemic availability of oral glutathione : Effect on plasma concentration. American Journal of Physiology 1992;43:667-669.
9. Hagen TM, Wierzbicks GT, Sillau AH, et al. Bilavailability of dietary glutathione: Effect on plasma concentration. American Journal of Physilogy-Gastrointestinal and liver Physiology 1990;259(4 22-4).
10. Vikram Sinai Talaulikar, Isaac T. manyonda. Vitamin C as an antioxidant supplement in women’s health: a myth in need of urgent burial, European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology, Volume 157, Issue 1, July 2011, Pages 10=13
11. Jens J. Thiele, Swarna Ekanayake-Mudiyanselage. Vitamin E in human skin:Organ-specific physiology and considerations for its use in dermatology and considerations for its use in dermatology, Molecular Aspects of Medicine, Volume 28, Issues-56, October-December 2007, Pages 646-667
12. Jay S. Trivedi, Steven L. Krill, James J. Fort. Vitamin E as a human skim penetration enhancer European Journal of Pharmaceutical Sciencer, Volume 3, Issue 4, August 1995, Pages 241-243

สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น