วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกาแฟคาปูชิโน

            ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกาแฟมีให้เลือกสรรอย่างมากมาย รวมทั้งยังมีรูปแบบวิธีการชงเพื่อให้ได้รสชาติที่หลากหลาย เช่น เอสเพรสโซ (Espresso) คือการชงกาแฟที่มีรสแก่และเข้ม, ลาเต้ (Latte) คือ เอสเพรสโซผสมนมร้อน, มอคค่า (Mocha) คือ เอสเพรสโซผสมนมร้อนและมีการใส่ช็อคโกแลตเพิ่มลงไป และอีกหนึ่งรสชาติที่หลายๆ คนปฏิเสธไม่ได้ถึงความอร่อย นั่นก็คือ คาปูชิโน (Cappuccino)
การชงคาปูชิโนโดยส่วนใหญ่มักมีอัตราส่วนของกาแฟเข้มข้น 1/3 ส่วน ผสมกับนมร้อนที่ผ่านไอน้ำ 1/3 ส่วน และฟองนมที่ตีเป็นโฟมละเอียด 1/3 ส่วนที่ลอยอยู่ด้านบน นอกจากนั้นอาจโรยหน้าด้วยผงชินนามอน หรือผงโกโก้เล็กน้อยตามความชอบ ในประเทศอิตาลีผู้คนมักดื่มคาปูชิโนเป็นอาหารเช้า โดยอาจรับประทานคู่กับขนมปังแผ่นหรือคุกกี้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าวิถีชีวิตของชาวอิตาลีมักไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้าแบบเป็นกิจลักษณะ คาปูชิโนและขนมปังเบาๆ จึงเหมาะเป็นอาหารรองท้องสำหรับยามเช้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับจุดเด่นของกาแฟคาปูชิโนคือความอร่อย หวานมัน หอมละมุน เหมาะสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟไม่เข้มมาก อย่างไรก็ตาม การเตรียมกาแฟคาปูชิโนจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะที่เป็นเครื่องชงกาแฟแบบไอน้ำและทำได้ไม่ง่ายนัก แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสินค้ากาแฟออกมาเป็นกาแฟคาปูชิโนปรุงสำเร็จชนิดผง เพียงแค่เทแล้วเติมน้ำร้อน ก็จะได้กาแฟคาปูชิโนพร้อมดื่มได้อย่างสะดวกสบาย โดยเฉพาะในบางผลิตภัณฑ์มีการปรับปรุงโดยไม่ใช้น้ำตาลในส่วนผสม แต่ใช้สารให้ความหวานแทน จึงไม่ต้องรับประทานน้ำตาลอันจะทำให้ได้รับพลังงานส่วนเกิน นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ และเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่รักในการดื่มกาแฟ

ประโยชน์ของกาแฟต่อสุขภาพ
            เมล็ดกาแฟจัดเป็นพืชที่เป็นแหล่งของคาเฟอีนที่ใหญ่ที่สุด อีกทั้งยังเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ กรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic acid) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอลิกที่ให้รสชาติขมในกาแฟ จากงานวิจัยรายงานว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 7 ถ้วย จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้อยกว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 ถ้วย หรือน้อยกว่าถึง 0.5 เท่า อีกทั้งมีรายงานว่า การดื่มกาแฟวันละ 1-3 ถ้วย ยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความเสื่อมของระบบประสาท อาทิเช่น โรคพาร์คินสันและโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งคนที่ดื่มกาแฟตั้งแต่ช่วงวัยกลางคน มีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมน้อยกว่าผู้ที่เคยไม่ดื่มกาแฟเลย

เอกสารอ้างอิง
1.    คาปูชิโน. สืบค้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 จากเวปไซต์วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี. https://th.wikipedia.org
2.    Van Dam, R.M. and Feskens,  E.J. 2002. Coffee consumption and risk of type 2 diabetes mellitus. The Lancet. 360:1477-1478.
3.    Ascherio, A., Zhang, S.M., Hern,  M.A. 2001. Prospective study of caffeine consumption and risk of Parkinson's disease in men and women. Annals of Neurology. 50(1): 56-63.
4.    อวยพร อภิรักษ์อร่ามวง. การบริโภคกาแฟกับความเสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารไทย ไภษัชยนิพนธ์ (ฉบับ-ออนไลน์). 2548: 2(4): 11-21


สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น