วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเมล็ดเชียผสมน้ำผักและผลไม้รวม


            ผักและผลไม้เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ที่ขาดไม่ได้ เพราะมีความหลากหลายของวิตามิน เกลือแร่ และมีคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณสูง


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเมล็ดเชียผสมน้ำผักและผลไม้รวม
           ผักและผลไม้เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ที่ขาดไม่ได้ เพราะมีความหลากหลายของวิตามิน เกลือแร่ และมีคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณสูง ดังนั้น การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่นำน้ำผักและผลไม้  9 ชนิด มาผสมผสานกับ ”เมล็ดเชีย” ธัญพืชมหัศจรรย์ที่มีคุณประโยชน์มากมาย ทำให้ได้เครื่องดื่มที่อร่อย สดชื่น และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องดื่มดูแลสุขภาพที่ดื่มได้ทุกวัน ทุกเพศ ทุกวัย
          เมล็ดเชีย (Chia Seed) เป็นพืชในกลุ่มเครื่องเทศตระกูลเดียวกับกระเพราและมินต์ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Salvia hispanica ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น และเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันมากในทวีปอเมริกา เชียเป็นพืชที่ให้เมล็ดเล็กๆ มีสองสีคือสีขาวและสีดำ เปลือกนอกเมล็ดจะพองตัวได้เหมือนเม็ดแมงลัก ซึ่งเมื่อนำไปแช่กับน้ำหรือของเหลวต่างๆ จะสามารถพองตัวได้ถึง 12 เท่า มีคุณสมบัติเป็นทั้ง Super Fruit และ Super Seed อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ ใยอาหาร กรดไขมันดีชนิดโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 แคลเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ โปรตีน และวิตามิน โดยเมล็ดเชียยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้ (อ้างอิงที่ 1)  
  • มีส่วนช่วยในการดูแลรูปร่างเนื่องจากทำให้อิ่มเร็วขึ้น และอิ่มนานขึ้น      
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย       
  • เป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร มีส่วนช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ       
  • ช่วยควบคุมภาวะของโรคเบาหวาน รักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง       
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเป็นปกติ (อ้างอิงที่ 2)
          น้ำผักและผลไม้รวม (Vegetable and Fruit Juice) ได้จากการแปรรูปผักและผลไม้ให้อยู่ใน  รูปของน้ำผักและผลไม้ ซึ่งเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคให้มีความสะดวกต่อการบริโภคน้ำผักและผลไม้รวมมีส่วนประกอบของผักและผลไม้  9 ชนิด ดังต่อไปนี้                                                                                                
          บรอกโคลี (Broccoli) และ กะหล่ำปลี (Green cabbage) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของผัก ตระกูลกะหล่ำ(Cruciferous)เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยพฤษเคมีและสารต้านอนุมุลอิสระสูง อีกทั้งเป็นแหล่ง ของวิตามิน ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี และเบต้า- แคโรทีน ในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังจัดเป็นผักที่มีความพิเศษ คือ มีสาร Glucosinolateซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งต่างๆ ในร่างกายอีกด้วย  (อ้างอิงที่ 3)    
          กล้วย (Banana)เป็นแหล่งของโพแทสเซียมและแคลเซียม ซึ่งเพียงพอต่อร่างกายที่ควรได้รับต่อวัน  กล้วยมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการป้องกันการเกิดกรดในกระเพาะ ช่วยให้ระบบลำไส้และระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติ  (อ้างอิงที่ 4)  
          ส้ม (Orange) และมะนาว (Lemon) จัดเป็นกลุ่มผักและผลไม้ที่มีปริมาณวิตามินซี วิตามินเอ โฟเลต และใยอาหารสูงมาก ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย (อ้างอิงที่ 5)
          กีวี่ (Kiwi)เป็นผลไม้ที่ผู้รักสุขภาพนิยมบริโภค เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยวิตามินซี, อี, เค โฟเลต ใยอาหาร และพฤษเคมีที่ดีต่อสุขภาพ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ถือเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีส่วนช่วยลดโคเลสเตอรอล ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง (อ้างอิงที่ 6)
         องุ่น (Grape) เป็นแหล่งของสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากรายงานการวิจัยพบว่า สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง โรคความผิดปกติของระบบกระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งสามารถป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย (อ้างอิงที่ 7 )
        แอปเปิ้ลเขียว (Green Apple)อุดมไปด้วยประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นใ­­­ยอาหารที่มีปริมาณสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงซึ่งช่วยป้องกันโรคมะเร็งและลดเลือนริ้ว­­­รอยแห่งวัย (อ้างอิงที่ 8)
        แตงกวา (Cucumber)มีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 69จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย เพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย มีสารอาหารที่มีประโยชน์  ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก ช่วยป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น ซิลิกา โพแทสเซียม แมงกานีส และแมกนีเซียม ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย(อ้างอิงที่ 9)
       ดังนั้น การได้รับเมล็ดเชียและผักผลไม้รวม 9 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นประจำ จะช่วยดูแลสุขภาพโดยรวมในด้านต่างๆ ได้แก่ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ ช่วยดูแลรูปร่าง ทำให้อิ่มท้อง ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคร้ายอื่นๆ อีกด้วย
    

เอกสารอ้างอิง
1. Mohd, A., Swee Keong, Y., Wan Yong, Ho., Boon Kee, B., Sheau Wei, T.,and Soon, G.T.2012. The Promising Future of Chia, Salvia hispanica L. Journal of Biomedicine and Biotechnology. 1:1-9.
2.Ullah, R., Nadeem, M., Khalique, A., Imran, M., Mehmood, S., Javid, A. and Hussain, J. 2015. Nutritional and therapeutic perspectives of Chia (Salvia hispanica L.): a review. 53(4): 1750-1758.
3.Jeffery, E.H.,  Araya, M. 2009. Physiological effects of broccoli consumption.  Phytochemistry  Reviews. 8(1); 283-298.
4.Sampath Kumar,K. P., Bhowmik , D., Duraivel, S., Umadevi, M. 2012. Traditional and Medicinal Uses of Banana. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry. 1(3): 51-55.
5. Economos and Clay W.D. Nutritional and health benefits of citrus fruits. Food, Nutrition and Agriculture.
6. Stonehouse, W., Cheryl, S., Gammon, K. L., Beck, C.A., Conlon, P. R., Hurst, V. and  Kruger, R. 2015. Kiwifruit: our daily prescription for health. Canadian Journal of Physiology and Pharmacology. 91(6): 442-447.
7.  Pezzuto,J.M. 2008. Grapes and Human Health: A Perspective. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 56(16): 6777-6784.
8. Boyer, J. and LiuEmail, R.H. 2004. Apple phytochemicals and their health benefits. Nutrition Journal.  3(5):1-15.
9.เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา ภัสรา ชวประดิษฐ์. (2539). แตงกวา. กรมส่งเสริมการเกษตร. [online]. เข้าถึง ได้จาก: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=442&s=tblplant.

สามารถนำรหัสสมาชิก 47024879 ไปซื้อได้ที่สำนักงานธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น