การรับประทานอาหาร ผลไม้ ขนม หรือเครื่องดื่มมากเกินความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อในแต่ละวัน เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนอาหารส่วนเกินเหล่านี้ไปเป็นไขมันเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หน้าท้อง สะโพก ต้นขา คอ แก้ม ทีละเล็ก ทีละน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความอ้วนนั่นเอง
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไฮโดรไลซ์กัวร์กัม สารสกัดทับทิม และผงมะม่วงในการดูแลรูปร่าง
การรับประทานอาหาร ผลไม้ ขนม หรือเครื่องดื่มมากเกินความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อในแต่ละวัน เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนอาหารส่วนเกินเหล่านี้ไปเป็นไขมันเก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หน้าท้อง สะโพก ต้นขา คอ แก้ม ทีละเล็ก ทีละน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความอ้วนนั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์ทางด้านอาหาร นักโภชนาการ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารกับความรู้สึกอิ่ม ค้นพบว่า เมื่อได้รับอาหาร ผลไม้ ขนม หรือเครื่องดื่มเพียงพอต่อความต้องการที่จะใช้พลังงานจากอาหารนั้นๆ เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีการสร้างสารที่มีชื่อว่า เลปติน ขึ้น โดยสารดังกล่าวจะเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเดินทางไปสู่สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกอิ่ม และจะไปกระตุ้นให้สมองสั่งการให้หยุดรับประทานอาหาร เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปมีความเพียงพอต่อความต้องการแล้ว โดยแสดงออกมาให้รู้คือความอิ่ม (อิ่มแล้ว) (อ้างอิง 1,3)
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ทางด้านอาหาร นักโภชนาการ ยังพบว่า LDL (low-density lipoprotein) หรือเป็นที่รู้จักกันว่าคือ ไขมันเลว ได้สร้างสารที่ชื่อว่า CRP ( C-reactive protein ) ออกมาเพื่อไปจับและทำลาย สารเลปติน ที่กำลังจะเดินทางเข้าสู่สมอง ทำให้กระบวนการอิ่มไม่เกิดขึ้น เราจึงยังรับประทานอาหาร ผลไม้ ขนม หรือเครื่องดื่มเข้าไปอย่างเกินความจำเป็นในทุกๆมื้ออาหาร ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกิดขึ้นในเวลารวดเร็ว เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทางด้านอาหาร นักโภชนาการ เข้าใจกลไกของการรับประทานอาหารแบบไม่รู้จักอิ่ม อย่างชัดเจน จึงได้ศึกษาวิจัยค้นคว้าต่อไปว่า หากสามารถจับหรือจัดการกับสาร CRP ( C-reactive protein ) ได้ก็จะทำให้ สารเลปติน สามารถเดินทางเข้าสู่สมองได้อย่างเป็นอิสระ และจะทำให้สมองสั่งการให้รู้สึกอิ่มหรือยุติการรับประทานอาหารส่วนเกินได้ทันที(อ้างอิง 2,3)
ในปัจจุบัน ได้มีการศึกษาวิจัยสารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นกระบวนการให้รู้สึกอิ่มดังกล่าวได้อย่างปลอดภัยและเห็นผลชัดเจน โดยพบว่า สารสำคัญในเมล็ดกัวร์ (พืชชนิดหนึ่งที่เติบโตได้ดีในประเทศอินเดียและปากีสถาน) ที่เรียกว่า ไฮโดรไลซ์กัวร์กัม จะสามารถไปจับกับสารCRP ( C-reactive protein ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่สารCRP ( C-reactive protein ) นี้ จะไปจับกับสารเลปติน จึงทำให้สารเลปตินเป็นอิสระ สามารถไปกระตุ้นกระบวนการอิ่มให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากทับทิม ยังช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกายอันเป็นสาเหตุของการสร้างสาร CRP ( C-reactive protein ) ได้อีกด้วย (อ้างอิง 4,5,6,7)
จากงานวิจัยที่จัดขึ้นภายใต้การรับรองความปลอดภัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจ แห่งสหรัฐอเมริกาด้านโภชนาการ (American Heart Association) ทดลองกับอาสาสมัคร 92 คน ที่เป็นโรคอ้วน ให้รับประทานไฮโดรไลซ์กัวร์กัม และสารสกัดทับทิม ปริมาณทั้งหมด 300 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ผลปรากฏว่า เมื่ออาสาสมัครรับประทานอาหารตามพฤติกรรมปกติที่เคยเป็นมา จะรับประทานอาหารได้ในปริมาณที่ไม่มากเหมือนเช่นเคย โดยไม่มีอาการข้างเคียง เช่นกระวนกระวาย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปากแห้ง หงุดหงิด และเห็นภาพหลอน (อ้างอิง 1)
อีกทั้งยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการรับประทาน ผงมะม่วง หรือ มะม่วงแอฟริกัน (African Mango) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Irvingia gabonesis เป็นมะม่วงป่าที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก พบว่า มีคุณสมบัติในลดการสะสมไขมันในร่างกาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยเพิ่มระดับ HDL และยังมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันได้ดีจะช่วยส่งเสริมการทำงานของเลปติน ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย (อ้างอิงที่ 8,9,10)
ประโยชน์ของไฮโดรไลซ์กัวร์กัม สารสกัดทับทิม และผงมะม่วง(อ้างอิง 1,11,12,13)
- ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม มีส่วนช่วยในการควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละวัน
- ช่วยส่งเสริมการทำงานของสารเลปติน ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยควบคุมน้ำหนักและกระชับสัดส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การรับรองความปลอดภัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาด้านโภชนาการที่เป็นสากล (American Heart Association)
- มีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อต่างๆ
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้
- อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ในร่างกาย
- ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
- ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
เอกสารอ้างอิง
1.The use of Lepticore® in reducing fat gain and managing weight loss in patients with metabolic syndrome. Lipids in Health and Disease 2010 9:20.
2.Mahadik, S.R, Deo, S.S., Mehtalia, S.D. Association of adiposity, inflammation and atherosclerosis: the role of adipocytokines and crp in asianindian subjects. metabsyndrrelatdisord. 2008, 6:121-128.
3.Roger, H., Unger, Zhou, Y.T. and Orci, L. Regulation of fatty acid homeostasis in cells: Novel role of leptin. Proc. Natl. Acad. Sci. 1999, 96: 2327–2332
4.Sabelli H, Fink P, Fawcett J, Tom C: Sustained antidepressant effect of PEA replacement. J Neuropsychiatry Clin Neurosci 1996, 8:168-171.
5.Sabelli HC, Javaid JI: Phenylethylamine modulation of affect: therapeutic and diagnostic implications.J Neuropsychiatry ClinNeurosci 1995, 7:6-14
6.Huang TH, Peng G, Kota BP, Li GQ, Yamahara J, Roufogalis BD, Li Y: Pomegranate flower improves cardiac lipid metabolism in a diabetic rat model: role of lowering circulating lipids. BrJ Pharamcol 2005,
7.Heber D, Seeram NP, Wyatt H, Henning SM, Zhang Y, Ogden LG, Dreher M, Hill JO: Safety and antioxidant activity of a pomegranate ellagitanninenriched polyphenol dietary supplement in overweight individuals with increased waist size. J Agric Food Chem 2007, 55:10050-10054
8.Ngondi,J.L., J.E.Oben, and S.R.Minka. The effect of Irvingiagabonensis seeds on body weight and blood lipids of obese subjects in Cameroon. Lipids Health Dis.2005, 4:12
9.Cases, J. African mangoo (Irvingiagabonensis) seed extract manages obesity and its co-morbid conditions.GREENTECH S.A. 2011.
10.Ngondi, J.L.,Oben, J.E. and Minka,S.R. The effect of Irvingiagabonensis seeds on body weight and blood lipids of obese subjects in Cameroon.Lipids in Health and Disease.2005, 4(12):1-4.
11.Anderson, J. W., Gilinsky, N. H., Deakins, D. A., Smith, S. F., O'Neal, D. S., Dillon, D. W. &Oeltgen, P. R. Lipid responses of hypercholesterolemic men to oat-bran and wheatbran intake. Am. J. Clin. Nutr.1991, 54:678-683.
12.Beard, J. L. Are we at risk for heart disease because of normal iron status? Nutr.1993, Rev. 51: 112-151.
13.Kulmanoswong, C. The Efficacy of Partially Hydrolyzed Guar Gum Fiber on Changing of LDL-Cholesterol Level.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณมากนะคะ สำหรับทุกๆ ความคิดเห็น